Posts

Showing posts from May, 2020

พระมหามณีรัตนปฏิมากร 1

ลุถึงปี พ.ศ. 2011 พระเจ้าติโลกราชขึ้นครองสมบัติเมืองเชียงใหม่ ทรงดำริว่า เจ้าเชียงใหม่องค์ก่อน ยอมให้พระมหามณีรัตนปฏิมากร ประดิษฐ์ฐาน อยู่เมืองลำปางนั้นไม่เหมาะควร ควรอาราธนามาไว้ในเมืองเชียงใหม่ ทรงดำริแล้วจึงจัดขบวนไปอาราธนา แห่ พระมหามณีรัตนปฏิมากรมาสร้างพระอารามราชกูฏเจดีย์ถวาย แล้วสร้างหอพระแก้วประดิษฐานไว้ในเมืองเชียงใหม่ และ พระเจ้าเชียงใหม่ ได้พยายามสร้างพระวิหารสำหรับ พระมหามณีรัตนปฏิมากร ให้เป็นปราสาทมียอดให้สมควร แต่หาสมประสงค์ไม่ อสนีบาตตกลงต้องทำลายยอดที่ตั้งสร้างขึ้นหลายครั้ง

ประวัติพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต

มีตำนานที่สามารถเชื่อถือกล่าวได้ว่า   เมื่อ พ.ศ. 1977   ฟ้าผ่าเจดีย์องค์หนึ่ง   ณ เมืองเชียงราย   (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว)   ปรากฎ มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ปิดทับด้วยปูนทั่วทั้งองค์ ชาวเมืองคิดกันว่า เป็นพระพุทธรูปสามัญธรรมดาทั่วๆไป จึงเชิญไปไว้ในวิหารวัดแห่งหนึ่ง   ต่อจากนั้น ประมาณ 3 เดือน ถัดมา ปูนที่หุ้มพระพุทธรูปองค์นี้ กระเทาะออกที่ปลายพระนาสิก   เจ้าอาวาสในวัด เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม   เป็นหยก   จึงแกะปูนออกทั้งองค์   จึงเห็นว่าเป็นแก้วทึบทั้งแท่ง บริสุทธิ์ดีไม่มีบุบสลาย หน้าตักกว้าง 48.3 ซม.   สูงทั้งฐาน 66 ซม. ชาวเชียงรายและเมืองอื่นๆพากันไปบูชานมัสการมากมาย   ผู้รักษาเมืองในขณะนั้น   จึงมีใบบอกลงไปถึง พระเจ้าสามฝั่งแกนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ๆ เกณฑ์กระบวนไปรับเสด็จ พระมหามณีรัตนปฏิมากร ขึ้นหลังช้างแห่มา   ครั้นมาถึงทางแยก ซึ่งจะไปเมืองนครลำปาง ช้างที่รับเสด็จ พระมหามณีรัตนปฏิมากร ก็วิ่งตื่นไปทางเมืองนครลำปาง   เมื่อหมอควาญเล้าโลมช้างให้สงบ   แล้วพามาถึงทางที่จะไปเมืองเชียงใหม่   ช้างก็ตื่นไปทางเมืองนครลำปางอีก   จนภายหลังเมื่อเอาช้างเชื่องรับเสด็จ   พระมหามณีรัตนปฏิมากร ช้างนั้นเมื่อมา

ตำนานพระแก้วมรกต๑

Image
แต่ด้วยที่แผ่นศรีเกษตรพุกามนั้น มิได้เป็นแผ่นดินที่พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจะประดิษฐาน เรือพระที่นั่งพระเจ้าอนุรุทธและเรือพระไตรปิฎกฉบับชาวพุกามคัดลอก สามารถกลับถึงกรุงพุกามได้เพียงสองลำ ส่วนเรือทรงพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต และพระไตรปิฎกฉบับชาวลังกาช่วยคัดลอกถูกพายุมรสุมพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา มีพระรับสั่งว่า สำเภาซึ่งบรรทุกพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตกับพระไตรปิฎกนั้น เป็นของพระเจ้ากรุงพุกามจริงและทรงเห็นแก่พระราชไมตรี จึงทรงให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย แต่ถึงมิได้พระแก้วกลับมา พระเจ้าอนุรุทธก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และแก้ไขพระไตรปิฎกที่ผิดเพี้ยนทั้งหมดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ.  1172 Two  boats set off for the return voyage, one carrying scriptures written by Sri Lankans, and the other  carrying teachings for the people of Pagan as well as the image of the Emerald Buddha. As fate  would have it, the boat carrying the Emerald Buddha never a