Posts

พระมหามณีรัตนปฏิมากร 1

ลุถึงปี พ.ศ. 2011 พระเจ้าติโลกราชขึ้นครองสมบัติเมืองเชียงใหม่ ทรงดำริว่า เจ้าเชียงใหม่องค์ก่อน ยอมให้พระมหามณีรัตนปฏิมากร ประดิษฐ์ฐาน อยู่เมืองลำปางนั้นไม่เหมาะควร ควรอาราธนามาไว้ในเมืองเชียงใหม่ ทรงดำริแล้วจึงจัดขบวนไปอาราธนา แห่ พระมหามณีรัตนปฏิมากรมาสร้างพระอารามราชกูฏเจดีย์ถวาย แล้วสร้างหอพระแก้วประดิษฐานไว้ในเมืองเชียงใหม่ และ พระเจ้าเชียงใหม่ ได้พยายามสร้างพระวิหารสำหรับ พระมหามณีรัตนปฏิมากร ให้เป็นปราสาทมียอดให้สมควร แต่หาสมประสงค์ไม่ อสนีบาตตกลงต้องทำลายยอดที่ตั้งสร้างขึ้นหลายครั้ง

ประวัติพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต

มีตำนานที่สามารถเชื่อถือกล่าวได้ว่า   เมื่อ พ.ศ. 1977   ฟ้าผ่าเจดีย์องค์หนึ่ง   ณ เมืองเชียงราย   (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว)   ปรากฎ มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ปิดทับด้วยปูนทั่วทั้งองค์ ชาวเมืองคิดกันว่า เป็นพระพุทธรูปสามัญธรรมดาทั่วๆไป จึงเชิญไปไว้ในวิหารวัดแห่งหนึ่ง   ต่อจากนั้น ประมาณ 3 เดือน ถัดมา ปูนที่หุ้มพระพุทธรูปองค์นี้ กระเทาะออกที่ปลายพระนาสิก   เจ้าอาวาสในวัด เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม   เป็นหยก   จึงแกะปูนออกทั้งองค์   จึงเห็นว่าเป็นแก้วทึบทั้งแท่ง บริสุทธิ์ดีไม่มีบุบสลาย หน้าตักกว้าง 48.3 ซม.   สูงทั้งฐาน 66 ซม. ชาวเชียงรายและเมืองอื่นๆพากันไปบูชานมัสการมากมาย   ผู้รักษาเมืองในขณะนั้น   จึงมีใบบอกลงไปถึง พระเจ้าสามฝั่งแกนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ๆ เกณฑ์กระบวนไปรับเสด็จ พระมหามณีรัตนปฏิมากร ขึ้นหลังช้างแห่มา   ครั้นมาถึงทางแยก ซึ่งจะไปเมืองนครลำปาง ช้างที่รับเสด็จ พระมหามณีรัตนปฏิมากร ก็วิ่งตื่นไปทางเมืองนครลำปาง   เมื่อหมอควาญเล้าโลมช้างให้สงบ   แล้วพามาถึงทางที่จะไปเมืองเชียงใหม่   ช้างก็ตื่นไปทางเมืองนครลำปางอีก   จนภายหลังเมื่อเอาช้างเชื่องรับเสด็จ   พระมหามณีรัตนปฏิมากร ช้างนั้นเมื่อมา

ตำนานพระแก้วมรกต๑

Image
แต่ด้วยที่แผ่นศรีเกษตรพุกามนั้น มิได้เป็นแผ่นดินที่พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจะประดิษฐาน เรือพระที่นั่งพระเจ้าอนุรุทธและเรือพระไตรปิฎกฉบับชาวพุกามคัดลอก สามารถกลับถึงกรุงพุกามได้เพียงสองลำ ส่วนเรือทรงพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต และพระไตรปิฎกฉบับชาวลังกาช่วยคัดลอกถูกพายุมรสุมพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา มีพระรับสั่งว่า สำเภาซึ่งบรรทุกพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตกับพระไตรปิฎกนั้น เป็นของพระเจ้ากรุงพุกามจริงและทรงเห็นแก่พระราชไมตรี จึงทรงให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย แต่ถึงมิได้พระแก้วกลับมา พระเจ้าอนุรุทธก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และแก้ไขพระไตรปิฎกที่ผิดเพี้ยนทั้งหมดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ.  1172 Two  boats set off for the return voyage, one carrying scriptures written by Sri Lankans, and the other  carrying teachings for the people of Pagan as well as the image of the Emerald Buddha. As fate  would have it, the boat carrying the Emerald Buddha never a

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ของประเทศไทย The Holy Buddha Image and Temple of Thailand

Image
  ประเทศไทย ศาสนาในประเทศไทย ประเทศไทย  หรือชื่อทางการว่า  ราชอาณาจักรไทย ประเทศ มีประวัติศาสตร์ ก่อสร้างชาติ ก่อสร้าง ประเทศอันยาวนาน ศาสนาย่อมเกิดมาควบคู่ กับประเทศไทย  ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศ 95 เปอร์เซนต์ นับถือ พุทธศาสนา ลัทธิ บูชาเทวดา พระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์  และ เจดีย์ ศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการกระจาย อยู่ทุกภาคส่วน ของประเทศไทย  ดังนั้น จึงใคร่ขอกล่าวถึง วัดศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์ศักดิ์สิทธฺ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธฺ์ ดังต่อไปนี้ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม   หรือ วัดพระแก้ว รูปจาก  Wat Phra Kaew (วัดพระแก้วมรกต) | Facebook พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาขึ้นที่ในบริเวณ พระบรมมหาราชวัง  พร้อมกับการสร้าง กรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2325 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327   เป็น วัดที่สร้างขึ้น ในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ สมัย อยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก  มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์ จำพรรษา  ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และ ประชุม ข้าทูลละอองพระบาท ถือน้ำ พ

The Emerald Buddha (Phra kaew Morakot)

Image
คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)  ตั้ง นโม ๓ จบ แล้วจึงสวด     พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ    ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ    ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ     จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม    นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ หรือ กล่าวสั้นๆว่า  วาละลุกัง สังวาตังวา The Legend of The Emerald Buddha ( Phra kaew Morakot) 500 year the Buddha's passing . Saint Nagasena was a monk at Wat Asokarem in the city of Padalibutra. Saint Nagasena want to make the buddha image,but not appropriated material. หลังจากพระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานล่วงมาแล้ว 500 ปี มีพระอรหันต์ นาคเสนเถระ จำพรรษาอยู่วัด อโศการาม ณ เมือง ปาตาลีบุตร  พระอรหันต์นาคเสนเถระ ต้องการสร้างพระพุทธรูป เพื่อ รำลึก ถึงพระพุทธองค์ แต่ไม่สามารถที่จะหาวัตถุใด มาสร้างให้เป็นเหมาะสมได้ Nagasena's sadness soon reached the slopes of Mt. Meru and the powerful god Indra. Alarmed and concerned, Indra and Visnu descended fr

พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต

Image
Visnu stayed with Nagasena, taking on  the form of a sculptor who created the likeness of the Buddha. Thus was the luminous chunk of  jade transformed in the gleaming image of the Emerald Buddha. The Emerald Buddha was  placed in a beautiful new temple with a roof of gold and attracted thousands of people from every corner of the land. เมื่อจำหลักเสร็จเรียบร้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ตามประสงค์ของพระนาคเสนเถระแล้ว พระนาคเสนจึง บอกบุญไปยัง อุบาสกอุบาสิกา สร้างมหาวิหารใกล้กับอโศการามแล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้เหนือแท่นรัตน บัลลังก์ และปฐมฐาปนาถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสน จึงได้บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุลงใน พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์    คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา   แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว อัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดแผ่นดินไหวขึ้น  พระอรหันต์ นาคเสนเห็นเหตุการณ์นั้น จึงทราบด้วยฌานสมาบัติ และพยากรณ์ว่าพระพุธรูปองค์นี้เห็นทีจะไม่ได้ดำรงพระชันษาตลอด 5000 พระพุทธศักราช หากจะให้ครบ ควรเสด็

ตำนานพระแก้วมรกต

Image
เมียนม่าร์ ,พม่า (อาณาจักรพุกาม) พระศีลขันธ์ภิกษุ และพระอาจารย์(ไม่ได้ระบุนาม) ได้ทำการพิจารณาพระไตรปิฎก ท่านเกิดสงสัยว่าพระไตรปิฎกธรรมในแผ่นดินพม่ารามัญทั้งปวงนั้น เห็นจะผิดอักขระไม่ต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา จึงทูลพระเจ้าอนุรุทธไปตามนั้น พระเจ้าอนุรุทธได้ทรงสดับก็มีพระศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสถามถึงที่ตั้งของพระไตรปิฎกธรรมฉบับที่ถูกต้อง พระศีลขันธ์จึงทูลว่า พระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น คือพระไตรปิฎกฉบับพระพุทธโฆษาจารย์ เถระที่ลังกาทวีป พระเจ้าอนุรุทธจึงมีพระราชโองการ ดำรัสสั่งเสนาบดีให้แต่งสำเภาเชิญพระราชสาส์นสองลำ ให้แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธจารลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏ และเครื่องราชบรรณาการอันเป็นต้นว่าดินสอแก้ว น้ำมันดิน พลอย ทับทิม   รัตนชาติหลากชนิด และสิ่งของอื่นๆเป็นอันมาก แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณธรรม  8  รูป ซึ่งรวมถึงพระศีลขันธ์ภิกษุและพระอาจารย์ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ราชบุรุษ ทั้งราชทูต อุปทูต ตรีทูต และไพร่พลพอสมควร คุมพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ โดยที่พระองค์เองประทับสำเภาพระที่นั่ง และพลทหารบริวารอีกหนึ่งลำ รวมเป็นสี่ลำ มุ่งหน้าสู่ลังกาทวีป ราชทูตพุกามเข้าเฝ้